ทำความรู้จักกับพยาธิสตรองจิลอยด์ สิ่งที่คร่าชีวิต "โค้ชแต๊ก"

Sponsored Links
เชื่อว่าหลายท่านที่ได้ติดตามข่าวสารทางวงการลูกหนังไทย คงจะได้ยินข่าวเศร้าของ “โค้ชแต๊ก” อรรถพล ปุษปาคม อดีตนักเตะทีมชาติไทยและการท่าเรือ วัย 52 ปี ที่ปัจจุบันทำหน้าที่เฮดโค้ชให้แก่เพื่อนตำรวจ ทีมในศึกดิวิชั่น 1 ได้เสียชีวิตลงแล้วจากอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดจากพยาธิที่ชื่อ “สตรองจีลอยด์” วันนี้ ขอพาทุกท่านมารู้จักกับพยาธิสตรองจิลอยด์  พยาธิตัวร้ายนี้กันค่ะ


แพทย์หญิงวีรวรรณ ลุวีระ อาจารย์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการปรากฏการณ์ข่าวจริง ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ เกี่ยวกับ โรคพยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloidiasis) ซึ่งพยาธิชนิดนี้ เป็นพยาธิตัวกลม จัดอยู่กลุ่มพยาธิที่อาศัยอยู่ในลำไส้ โดยจะไชเข้าไปทางผิวหนัง ซึ่งทุกคนสามารถเป็นได้ แต่ความรุนแรงของโรคมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับบุคคล




อาการของโรค “พยาธิสตรองจิลอยด์” เมื่อพยาธิไชเข้าไปในตัวแล้ว ประมาณไม่เกิดอาทิตย์ จะไปอยู่ที่ปอด ซึ่งในช่วงนี้อาจทำให้เกิดอาการไอ และประมาณ 2 สัปดาห์ พยาธิจะลงไปตามทางเดินอาหาร ผ่านทางเสมหะ และเจริญเป็นตัวเต็มวัยที่ลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย , ปวดม้วนท้อง  และประมาณ 1 เดือนอาจมีพยาธิปะปนออกมากับอุจจาระ

ซึ่งพยาธิชนิดนี้ สามารถเจริญเติบโตในร่างกายเราได้ เช่น หากพยาธิไปเจอกับคู่ในร่างกายของเรา ก็อาจจะมีการผสมพันธุ์ ออกลูกหลานได้ นอกจากนี้ในคนที่ภูมิคุ้มกันร่ายการไม่แข็งแรง ตัวพยาธิจะเพิ่มจำนวนเชื้อในตัวเรา อาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจทำให้เสียชีวิตได้

อีกทั้งการตรวจหาพยาธินั้น ค่อนข้างยาก ยิ่งในผู้ที่เชื้อไม่เยอะ หรือไม่ได้แสดงอาการของโรคมากนัก การตรวจอุจจาระแค่ครั้งเดียวอาจไม่เจอตัวพยาธิ ต้องตรวจด้วยวิธีพิเศษ หรือตรวจเพิ่มเป็น 2-3 วัน


วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้นจากพยาธิสตรองจิลอยด์
1. สุขอนามัย เรื่องระบบสาธารณะสุข ต้องขับถ่ายในห้องน้ำ
2. การใส่รองเท้า
อย่างที่บอกข้างต้นแล้วว่าพยาธิร้ายตัวนี้ชอบความสกปรกโสมม และส่วนมากจะอยู่กระจัดกระจายบนพื้นดิน ดังนั้นเบื้องต้นก็ควรต้องจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวให้สะอาดถูกห­ลักอนามัยเสมอ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สกปรกด้วยนะคะ

การรักษาพยาธิสตรองจิลอยด์เบื้องต้น
          การรักษาในเบื้องต้นอาจรักษาได้ด้วยตัวยาไทอะเบนดาโซล (Thiabendazole) ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคพยาธิสตรองจิลอยด์ได้ทั้งกรณีที่ติดเชื้อ­ในลำไส้ และกรณีที่เชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ โดยมีข้อเสียอยู่ที่ผลข้างเคียงค่อนข้างมาก อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งมีแนวโน้มเกิดความผิดปกติในระบบประสาทได้หากใช้ยาติดต่อ­กันนาน ๆ ดังนั้นผู้ป่วยในระยะแพร่เชื้อจึงควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เ­ชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

          ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิในลำไส้ อาจรักษาด้วยยาอัลเบนดาโซล (Albendazole) ขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อรักษาอาการเบื้องต้นไว้ก่อน

อย่างไรก็ตาม การกินยาถ่ายพยาธิ เม็ดเดียว ครั้งเดียวไม่สามารถกำจัดได้ โดยพยาธิตัวนี้ ยาที่ใช้ค่อนข้างจะหาซื้อยาก ซึ่งทานแล้ว จะต้องทานซ้ำในอีก 2 สัปดาห์ เพื่อตัดวงจรชีวิต แต่ถ้าเป็นยาถ่ายพยาธิที่มีขายทั่วไป อาจจะต้องกินถึง 5 วัน

Share on Google Plus

About 0xNapakkraj

พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้แล้วจ๊ะ
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment